น้ำตกแม่สา
วนอุทยานน้ำน้ำตกแม่สา
อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนในแนวเทือกเขาถนนธงไชย
ที่สืบเนื่องต่อจากเทือกเขาหิมาลัยความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 330-1,685
เมตรจากระดับน้ำทะเล
ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาโดยทั่วไปประกอบไปด้วยหินอัคนี
(igneous rock) ชนิดที่สำคัญได้แก่ หินแกรนิต (granite)
นอกจากนี้ยังมีหินชั้น (sedimentary rock) และหินแปร
(metamorphic rock) ซึ่งในบริเวณน้ำน้ำตกแม่สาจะพบหินชนิดนี้มาก
น้ำตกแม่สา เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงที่สุดของอำเภอแม่ริม
เป็นส่วนหนึ่งของวนอุทยานน้ำตกแม่สา
นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เพราะอยู่ไม่ไกลตัวเมือง
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงามและมีน้ำไหลตลอดปี แบ่งออกเป็นชั้นๆ
ขึ้นไปตามเชิงเขาถึง 8 ชั้น ชั้นที่สวยที่สุด คือชั้นที่ 5-7 ความสูงชั้นละประมาณ
6-8 เมตร สามารถขึ้นไปชมได้สะดวก และบรรยากาศร่มรื่น
เพราะมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมทั่วบริเวณ ทำให้สภาพอากาศร่มรื่นเย็นสบายตลอดปี
เหมาะกับการท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ในเส้นทางเดียวกันกับน้ำตกแม่สานี้
ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกหลายแหล่ง เช่น แม่สารีสอร์ท ฟาร์มผีเสื้อแม่สา
การแสดงช้างที่ปางช้างแม่สา ซึ่งจะมีการแสดงช้างให้ชมทุกวัน และแม่สาวาเลย์
ซึ่งแต่ละแห่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป
สถานที่ติดต่อ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 053-210244
(ที่มา : http://www.teawchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?topic=1793.0)
ปางช้างแม่สา
"ปางช้างแม่สา"
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก
ใช้เวลาขับรถจากตัวเมืองมาถึงปางช้างภายในเวลาประมาณ 20 นาที
โดยคุณสามารถสัมผัสได้กับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ตลอดสองข้างทางไปจนถึงปางช้างแม่สาเลยครับ
จากประสบการณ์ที่มากกว่า 30 ปี
และจำนวนช้างที่มีกว่า 70 เชือกที่อยู่ภายใต้การเลี้ยงดูอย่างดี
เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าปางช้างแม่สาแห่งนี้
กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญในด้าน การดูแลช้าง การสืบพันธุ์ช้าง
รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
หาก มองย้อนกลับไปเมื่อช่วงหลายทศวรรษที่แล้ว
เราคงจะคุ้นเคยกับภาพของการใช้ช้างในงานอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นส่วนมากในเขต
ป่าของพื้นที่ภาคเหนือ
แต่เนื่องด้วยการตระหนักถึงคุณค่าในความฉลาดและความสามารถที่มีมากของช้าง แล้ว
"คุณชูชาติ กัลมาพิจิตร"
จึงได้ก่อตั้งปางช้างแม่สาขึ้นในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่อยู่ติดกับลำน้ำ
แม่สาในเขตหุบเขาแม่สาเมื่อปี พ.ศ. 2519 นับตั้งแต่นั้น
คุณชูชาติได้ทำการซื้อช้างจากที่ต่างๆ มาเพื่อทำการฝึกและพัฒนาทักษะต่างๆ
โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสามารถของช้างเหล่านี้ให้แก่
นักท่องเที่ยวผู้ที่หลงเสน่ห์ในความน่ารักของช้างและหวังว่านักท่องเที่ยว
ที่มาเยือนจะเกิดความรักและตระหนักในคุณค่าของช้างไทย
ปางช้างแม่สาเป็นปางช้างแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน
ISO 9001 version 2008
เนื่องจากมีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอปางช้างยุคใหม่ที่นักท่องเที่ยวสามารถ
สัมผัสได้ถึงการดูแลเอาใจใส่ที่ดีต่อช้างทุกเชือกและมีความมั่นใจว่าช้างทุก
เชือกอยู่อย่างอิ่มท้องและมีความสุข พร้อมทั้งยังมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสามารถและความฉลาดของช้างไทยรวมทั้งส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงความสามารถของช้างไทย
คุณชูชาติยังได้ก่อตั้งโครงการส่งเสริมสืบสานสายพันธุ์ช้างไทยขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนประชากรช้างไทย
และอนุรักษ์ช้างไทย โดยช้างที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงจะถูกคัดเลือกให้ทำการสืบพันธุ์เพื่อให้กำเนิดสมาชิกใหม่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
(ที่มา : http://www.holidaythai.com/chiang_mai_attractions_detail_609.htm)
สวนพฤกษ์ศาสตร์สิริกิติ์
สวนพฤกษ์ศาสตร์สิริกิติ์ เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ตำบลแม่แรม จัดเป็นสถาบันทางวิชาการ ที่มีองค์ประกอบสำคัญหลายประการรวมอยู่ด้วยกัน ที่เป็นลักษณะเด่นได้แก่ การมีพรรณไม้หลากหลายนานาชนิด
ทั้งพืชเดิมและพืชต่างถิ่นที่ทราบชื่อและที่มาแน่นอนนำมาจัดปลูกร่วมกัน
อย่างเป็นระบบในพื้นที่ขนาดใหญ่
มีการให้ชื่อถูกต้องจัดเป็นศูนย์กลางทางวิชาการด้านพืช
ทั้งการอนุรักษ์และขยายพันธ์ศูนย์การวิจัยค้นคว้า ศูนย์พัฒนาบุคลากร
ศูนย์รวมข้อมูลเอกสารอ้างอิงและสิ่งพิมพ์เผยแพร่
เป็นสถานที่ให้การศึกษาภาคสนามและพัฒนางานด้านพฤกษศาสตร์ ตลอดจนให้การพักผ่อนหย่อนใจ ความสุนทรีย์และสันทนาการแก่ประชาชนทั่วไป
สวนพฤกษศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้น
เพื่อให้ประเทศไทยมีสวนพฤกษศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบแท้จริงเป็นศูนย์รวมพรรณไม้
ไทยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพืช
ทำหน้าที่เป็นศูนย์ศึกษา ค้นคว้า วิจัย
อนุรักษ์ ผลิตบุคลากรและให้บริการด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศโดยเฉพาะเป็นสถานที่เผยแพร่
ความสวยงาม
และคุณค่าของพรรณพฤกษชาติไทย
ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วโลก
เป็นศูนย์รวมพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในประเทศ
โดยเฉพาะพรรณไม้ไทยรวมถึงพรรณไม้ต่างประเทศ ที่มีการตรวจสอบชื่อถูกต้อง นำมาจัดปลูกให้สวยงาม ร่มรื่น
เป็นหมวดหมู่อย่างสอดคล้องผสมผสาน
มีการจัดติดป้ายชื่อบอกถึงที่มีและประโยชน์ต่าง ๆ ชัดเจน
เป็นศูนย์อนุรักษ์และขยายพรรณพืช
โดยเฉพาะไม้ประจำถิ่น ไม้หายาก กล้วยไม้
และพืชสมุนไพร ตลอดจนไม้มีค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ฯลฯ
โดยดำเนินการขยายพันธุ์ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น เพื่อให้คงอยู่และเพื่อการศึกษาวิจัยในอนาคต
เป็นสถาบันทางการศึกษาและวิจัยด้านพฤกษศาสตร์
ดำเนินการผลิตนักผลิตนักพฤกษศาสตร์ระดับสูงสาขาที่ขาดแคลนให้กับประเทศตลอด
จนการพัฒนาบุคลากร
โดยดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิดล
นเรศวร รามคำแหง ขอนแก่น
สงขลานครินทร์ และ ราชภัฎ
โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น
ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่โจ้
พายัพ
และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทำการวิจัยขั้นสูงร่วมกับสถาบันในประเทศ อาทิ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เป็นศูนย์รวมตัวอย่างพรรณไม้แห้ง
ที่เก็บหาจากทั่วประเทศ
โดยเฉพาะพรรณไม้ในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีการตรวจสอบรายชื่อพันธุ์ไม้ ให้ชื่อถูกต้อง และบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลของประเทศ
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านพืช
ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศและของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประกอบด้วยศูนย์ห้องสมุดทางพฤกษศาสตร์และศูนย์รวมข้อมูลพืชระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงเอกสารด้านพฤกษศาสตร์และพันธุกรรมพืชอันมีขอบเขตครอบคลุมถึงชนิดพืชต่าง
ๆ
โดยเฉพาะที่มีอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสถานที่ศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจในธรรมชาติ
ทางด้านความหลากหลายของพรรณพืชและภูมิทัศน์
ตลอดจนการสันทนาการให้ความเพลิดเพลินและความรู้แก่ผู้เยี่ยมชมโดยเฉพาะทางด้านพืช เป็นแหล่งปลูกฝังเยาวชน โน้มน้าว กล่อมเกลาจิตใจ ให้ความรู้
ให้หวงแหนและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติด้านพืช อันจะเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ
(ที่มา : http://maeram.go.th)
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์

พระตำหนักดาราภิรมย์
สร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ทรงย้ายกลับมาประทับที่เชียงใหม่หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
เจ้าดารารัศมีทรงใช้พระตำหนักหลังนี้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันเป็นคุณูปการทั้งทางด้านเกษตร
และศิลปะวัฒนธรรม อาทิ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ทรงฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมล้านนาให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวเหนือ
ทรงสร้างสวนทดลองการเกษตรชื่อ “สวนเจ้าสบาย” เนื่องจากทรงสนพระทัยในการเกษตรและทรงหวังที่จะช่วยการกสิกรรมของภาคเหนือ
ทรงทดลองปลูกดอกกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทรงได้จากสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษที่ทรงเป็นสมาชิกและพันธุ์ที่โปรดที่สุดเป็นกุหลาบดอกใหญ่สีชมพู
กลิ่นหอมเย็น จึงทรงตั้งชื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แต่พระบรมราชสวามีว่า “จุฬาลงกรณ์”
และก่อนสินพระชนม์
เจ้าดารารัศมีได้ทรงทำพินัยกรรมประทานที่ดินนี้เป็นมรดกแก่ทายาท
ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ซื้อที่ดินต่อจากทายาท
โดยมีการมอบโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้องในเวลาต่อมา
เจ้าดารารัศมีเป็นเจ้าจอมที่เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมากองค์หนึ่ง
เพราะนอกจากเจ้าดารารัศมีมีพระอัธยาศัยอันงดงามแล้ว
ยังทรงเป็นผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าพระบรมราชวงศ์จักรีกับดินแดนล้านนา
ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองแปรเปลี่ยนไปในทางที่ดียังประโยชน์แก่อาณาจักรสยามเป็นอย่างยิ่ง
พระตำหนักดาราภิรมย์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดิน
ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติเป็นผู้สืบทอดและพิทักษ์รักษา
ด้วยตระหนักในภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้เอง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรที่จะต้องบูรณะพระตำหนักดาราภิรมย์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์งดงามใกล้เคียงกับสภาพเดิมเมื่อกาลก่อน
เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆระหว่างบรรพชนในอดีต
กับอนุชนรุ่นหลังเพื่อให้ได้ทราบถึงพระปรีชาสามารถ
และพระกรุณาธิคุณของพระราชชาบาเจ้าดารารัศมี
ขัตติยนาผู้ทรงอุทิศพระองค์ตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อความวัฒนาสถาพรแห่งดินแดนล้านนา
นอกจากนี้พระตำหนักดาราภิรมย์ยังเป็นพระตำหนักที่ประทับสุดท้ายที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงรักและผูกพันอย่างยิ่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นว่า พระตำหนักดาราภิรมย์อยู่ในสภาพทรุดโทรม
แต่สภาพอาคารยังมีความมั่นคงแข็งแรง มีรูปแบบอาคารที่ชัดเจน อาจใช้เป็นกรณีศึกษา
อาคารที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกในประเทศไทย
การบูรณะใช้แนวทางอนุรักษ์และเตรียมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2541
ด้วยการรักษาส่วนประกอบของอาคารและรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาฯ
เพื่อจัดตั้งแสดงและตกแต่งห้องต่างๆให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงกับอดีตมากที่สุด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือ
พ่อค้า และประชาชนชาวเชียงใหม่
ที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคและเสาหาสิ่งของเครื่องใช้เพื่อจัดตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์
ห้องต่างๆ ในพระตำหนักดาราภิรมย์
ชั้นบน
1.
โถงทางเดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระปฐมวงศ์ พระประวัติ
พระตำหนักที่ประทับในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีพระตำหนักดาราภิรมย์
2.
ห้องรับแขก จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
และเครื่องเรือนร่วมสมัย
3.
ห้องบรรทม จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
และเครื่องเรือนร่วมสมัย
4.
ห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ จัดแสดงจานชาม เครื่องเสวย ของใช้ส่วนพระองค์
และเครื่องดนตรี
5.
ห้องจัดแสดงพระกรณียกิจ ด้านการศาสนา ด้านการเกษตร และด้านศิลปะศาสตร์
6.
ห้องจัดแสดงชุดเครื่องทรง ผ้าทอที่พระราชชายาฯทรงออกแบบลวดลายและส่งเสริมการทอ
ชุดการแสดงที่พระราชชายาฯได้ทรงฟื้นฟูและทรงดัดแปลงศิลปะภาคกลางให้เข้ากับศิลปะภาคเหนือ
7.
ห้องสรง
ชั้นล่าง
จัดแสดงเครื่องมือเกษตร ที่ทรงใช้ในการทดลองการเกษตรแผนใหม่ ในสวนเจ้าสบาย
นอกจากนั้นยังมีเครื่องทอผ้า ซึ่งใช้ทอผ้าสำหรับพระราชชายาฯโดยเฉพาะ
พระประวัติพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
เจ้าดารารัศมีประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 ณ
คุ้มหลวงกลางนครเชียงใหม่ เป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงได้รับการศึกษาจากพระชนก-ชนนี
ในเรื่องอักษรไทยเหนือและใต้เช่นเดียวกับกุลบุตรกุลธิดาในสมัยนั้น
เมื่อเจ้าดารารัศมีทรงเจริญพระชันษาได้ 13 ปี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าอินทวิชยานนท์จัดพิธีโสกันต์พร้อมกับพระราชทานเครื่องโสกันต์ระดับเจ้าฟ้าให้เจ้าดารารัศมีทรงใช้ในพิธีอีกด้วย
เมื่อเจ้าดารารัศมีได้ตามเสด็จพระบิดาซึ่งเสด็จมาร่วมงานพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระนามสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าดารารัศมีถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในในฐานะเจ้าจอม เมื่อวันที่ 4
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 เจ้าดารารัศมีมีพระราชธิดาพระนามว่า
พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสีแต่ทรงเจริญพระชันษาเพียง 3
ปีเศษก็ประชวรสิ้นพระชนม์ เมื่อพระเจ้าอินทวิชยานนท์พระบิดาถึงแก่พิราลัย
เจ้าดารารัศมีจึงทรงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จขึ้นไปเยี่ยมนครเชียงใหม่
เนื่องจากได้เสด็จมาประทับที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง 22 ปี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตอีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ
จัดงานพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศเจ้าดารารัศมีจากเจ้าจอมมารดาขึ้นเป็นพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
แต่หลังจากที่พระราชชายาฯเสด็จกลับเชียงใหม่ได้เพียง 10
เดือนก็ต้องทรงประสบความเศร้าโศกอันยิ่งใหญ่
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม
พ.ศ. 2453
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อมาพระราชชายาฯยังคงประทับ
ณ พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิต จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2457
จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จกลับนครเชียงใหม่ พระราชชายาฯทรงดำรงพระชนม์อย่างสงบสุข
ณ พระตำหนักดาราภิรมย์อยู่หลายปีจนสิ้นพระชนม์ด้วยโรคปัปผาสะพิการ (โรคปอด)
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ คุ้มรินแก้ว รวมสิริพระชันษาได้ 60 ปี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดงานพระศพเป็นงานพิธีหลวง
พระอัฐิส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่พระกู่ วัดสวนดอกจังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง อีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปบรรจุไว้ ณ สุสานหลวง
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
วัน – เวลา เปิดพิพิธภัณฑ์
วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 17.00
น. (วันจันทร์หยุดทำการ)
อัตราเข้าชมพิพิธภัณฑ์
ผู้ใหญ่ 20 บาท
เด็ก 10 บาท
พระสงฆ์/นักเรียนในเครื่องแบบฟรี
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม
จ.เชียงใหม่ (ในบริเวณค่ายดารารัศมี) โทร. 053 299 175
(คัดลอกจากเอกสารพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์)
(ที่มา : http://www.oceansmile.com/N/Chianmai/Darapirom.htm)
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
ตํานานวัดพระพุทธบาทสี่รอย
เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจาริกประกาศธรรมและโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจันตประเทศ
( ประเทศไทยปัจจุบัน ) จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศชื่อ
เขาเวภารบรรพตซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์และได้
แวะฉันจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้
เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จขณะประทับอยู่ที่นั้นก็ได้ทราบด้วยญาณสมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ได้มีรอย
พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินใหญ่ คือ
พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระ
พุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ
อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นประธาน
เมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่าพระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด พระพุทธองค์ตอบว่า
ดูก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้ แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ที่
ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ทุกๆพระองค์
และแม้นว่าพระศรีอาริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ และ
จักรประทับรอยพระบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือ
ประทับลบทั้งสี่รอยให้เหลือรอยเดียว )
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้วพระ องค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง
3 พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์จึงกําเนิดเป็นพระ
พุทธบาทสี่รอย
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาท
ของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิฐานว่า ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว
เทวดาทั้งหลายก็จักนําเอาพระ ธาตุของกูตถาคมมาบรรจุไว้ที่รอยพระบาทที่นี่
ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว 2,000 ปี
พระพุทธบาทสี่รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงคนและเทวดาทั้งหลาย ก็จักได้มาไหว้และบูชา
เมื่อทรงอธิฐานและทํานายไว้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จไป
เชตวันอารามอันมีในเมืองสาวัตถีวันนั้นแล
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้วเทวดาทั้งหลายก็นําเอาพระธาตุของพระพุทธองค์มาบรรจุไว้ที่พระพุทธ
บาทสี่รอยเมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงแล้วประมาณ 2,000 วัสสา
เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาทสี่รอยปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระ
พุทธองค์ทรงอธิฐานไว้ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ ( เหยี่ยว )
ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพตอันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้
เพื่อบินลงไป เอาลูกไก่ชาวบ้าน ( คนป่า )ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต
แล้วก็บินกลับขึ้นไปอยู่ยอดเขา มันก็โกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย
มันก็ติดตามไป ค้นหาดูแต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้นอีก
แต่เห็นรอยพระพุทธบาทสี่รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์
พรานป่าผู้นั้นก็ทําการสักการะบูชา เสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่
บ้านก็เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟังความอันนั้นก็ปรากฏสืบๆกันไปแรกแต่นั้นไปคนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก
แต่นั้นมา จึงได้ชื่อว่า พระบาทรังรุ้ง ( รังเหยี่ยว )
ในสมัยนั้นมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าพระยาเม็งราย เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่
ได้ทราบข่าวจึงมีพระราช ศรัทธาอยากเสด็จขึ้นไปกราบบูชาพระพุทธบาทสี่รอยก็นําเอาราชเทวีและเสนาพร้อมกับบริวารทั้งหลาย
เมื่อพระยาเม็งรายกราบนมัสการเสร็จแล้ว ก็นําเอาบริวารของตนกลับมาสู้
เมืองเชียงใหม่ ก็ตั้งอยู่เสวยราชมบัติตราบเมี้ยนอายุขัยแล้ว
ก็เจริญตามรอยและได้ขึ้นมากราบพระพุทธบาททั้งสี่รอย ทุกๆพระองค์
หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวก็เปลี่ยนชื่อเป็น"
พระพุทธบาทสี่รอย " เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึงสี่รอย
คือมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ที่ล่วงลับมาแล้วในภัทรกัลป์นี้
คือ รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรกเป็นรอย ใหญ่ยาว 12 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ
เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะเป็นรอยที่ 3 ยาว 7 ศอก
รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ ( ศาสนาปัจจุบัน ) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กที่สุด
ยาว 4 ศอก เมื่อมาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือกผู้ครองนคร เชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร
500 คนก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาทสี่รอย
และได้สร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราว โดยแต่เดิมถ้า
ใครจะดูรอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่
ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไปหรือปีนขึ้นไปดูซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น
ดังนั้น พระยาธรรมช้างเผือก จึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้ายๆนั่งร้านรอบๆก้อนหินที่มีพระ
พุทธบาทสี่รอยและได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้
ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไป
กราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและได้มีพระราชศรัทธา
ก่อสร้างวิหารเป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้หนึ่งหลัง หลังเล็กปัจจุบันได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วทั้งหลัง
พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2472 ครูบาศรีวิชัย
นักบุญแห่งล้านนาไทยก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย
และได้รื้อพระวิหารที่เจ้า พระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว
และได้สรางพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่ และได้ฉาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย
พระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
คัดลอกจาก " คัมภีร์มหาพุทธมนต์จตุรพุทธา
" ซึ่งพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ ในวาระทอดมหากฐิน ทาน ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย
(ที่มา : http://stinp.tripod.com/2.htm)
ตำนานวัดพระพุทธบาทสี่รอย โดยเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอย
“วัดพระพุทธบาทสี่รอย” อ.แม่ริม
จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดที่มีปูชนียสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์
เนื่องจากเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 4
พระองค์ ที่ล่วงเลยมาในภัทรกัปป์นี้ ตามประวัติโดยย่อ รอยพระพุทธบาทสี่รอยนี้ประทับอยู่ในก้อนหินก้อนใหญ่
ซึ่งเรียกว่าหินศิลาเปรต ต่อมามีพระพุทธเจ้ากกุสันธะ เสด็จมาโปรดมหาศิลาเปรต
ทรงเมตตาประทับรอยพระพุทธบาทเหนือหินมหาศิลาเปรตเป็นรอยแรก ยาว 12 ศอก
จากนั้นก็มีพระพุทธเจ้าโกนาคมน์ มาโปรดอีก และได้ประทับรอยเป็นรอยที่สอง ยาว 9 ศอก
รอยที่สาม คือ รอยของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ยาว 7 ศอก และรอยสุดท้าย รอยที่สี่ คือ
รอยของพระพุทธเจ้าโคตมะ ยาว 4 ศอก ค่ะ
ตามตำนานก็เชื่อกันว่าเมื่อถึงยุคของพระศรีอริยะเมตไตรย์
ท่านก็จะเสด็จมาประทับรอยพระบาทซ้อนทับรอยพุทธบาททั้ง 4 นี้ รวมเป็นรอยพระพุทธบาทรอยใหญ่รอยเดียว
พระพุทธบาทสี่รอยนี้
ได้รับการสักการบูชาจากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาหลายยุคสมัย
และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เสมอมาล่าสุด ครูบาศรีวิชัย
ได้มาสร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ในปีพ.ศ.2497
วัดพระพุทธบาทสี่รอยนี้ ยังได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร
มีประวัติเล่าขานถึงความเก่าแก่
จนนับเป็นรอยพระพุทธบาทที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
การเดินทางมาวัดพระบาทสี่รอย
จากตัวเมืองใช้เส้นทางสายเชียงใหม่ แม่ริม
ระหว่างกิโลเมตรที่ 20-21 จะมีป้ายชื่อวัดพระบาทสี่รอยอยู่หน้าซอยฝั่งซ้าย
บอกทางไปวัดอีก 31 กิโลเมตร ระหว่างทางเป็นทางลาดชันโค้งขึ้นเขาเกือบตลอดทางค่ะ
มีป้ายบอกทางอยู่เป็นระยะๆไม่ต้องกลัวหลงค่ะ "วัดพระพุทธบาทสี่รอย" ตั้งอยู่ในหุบเขาป่าลึก
เขต ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และจากตัวอำเภอแม่ริม จนถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอย
มีระยะทาง 50 กิโลเมตร
(ที่มา : พระครูพุทธบาทเจติยารักษ์
(พระครูบาพรชัย ปิยะวัณโณ) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอย) http://www.buddhabucha.net/index.php?option=com_content&view=article&id=53:2010-02-08-07-59-25&catid=43:qq-&Itemid=69